บทที่2

ข้อมูลพื้นฐานโครงการ

               โครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง ตามในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นโครงการที่มีลักษณะโครงการประเภทกิจกรรมเป็นศูนย์วิจัยกึ่งการเรียนรู้ โดยนอกเหนือจากการทำค้นคว้าวิจัยแล้ว ยังมีส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เนื่องด้วยโครงการประเภทนี้ยังมีจำนวนไม่มากนัก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโครงการ จากอาคารตัวอย่างทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษา โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานโครงการเหล่านั้น มาเปรียบเทียบข้อได้เปรียบเสียเปรียบ ปัญหาและวิธีแก้ปัญหา และสรุปปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดแนวความคิดโครงการและการจัดทำรายละเอียดโครงการ
โดยมีขอบเขตการศึกษาข้อมูลพื้นฐานโครงการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
                  2.1ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย
                  2.2ข้อมูลพื้นฐานด้านรูปแบบ
                  2.3ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์
                  2.4ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี

          2.1 ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย

             ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอยจัดเป็นข้อมูลหลักของโครงการที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มเป้าหมายระดับต่างๆ ของโครงการกับตัวโครงการ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ และตารางเวลาที่เกิดขึ้นภายในโครงการ โดยข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอยประกอบไปด้วย

          2.1.1 ผู้ใช้โครงการ

      1.โครงสร้างโครงการ
       จากการศึกษาวิเคราะห์การจัดระบบโครงสร้าง ของโครงการประเภทศูนย์วิจัย ซึ่งอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของภาครัฐ จะมีการจัดระบบโครงสร้างองค์กรที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการจัดระบบการบริหารงานราชการเป็นหลัก บุคคลฝ่ายต่างๆ ภายในโครงการจะเป็นบุคคลากรที่ได้จากการจัดสรรของรัฐตามกำลังงบประมาณ โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของโครงการนั้นๆ

รูปภาพที่ 2.1 แสดงผังโครงสร้างองค์กร
        2.ปริมาณผู้ใช้โครงการ
        จากการศึกษารายระเอียดด้านกลุ่มเป้าหมายโครงการ พิจารณาควบคู่กับการศึกษาข้อมูล สามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้โครงการได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1.)กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก ได้แก่ นักวิจัย 70 คน (อ้างอิงจากบทที่ 1)
2.)กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง ได้แก่ นักเรียน
3.)กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน

กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก

        กลุ่มผู้ใช้โครงการหลักคือนักวิจัย นักวิชาการ แต่ละโครงการจำเป็นต้องตั้งปริมาณผู้ใช้โครงการเพื่อเป็นการวางแผนในแง่ความเป็นไปได้ของโครงการ
             จากการการศึกษากรณีศึกษา(Case study)  จำนวนนักวิจัยที่เข้ามาใช้มากที่สุดใน 1 วัน มีจำนวนกลุ่มผู้ที่เข้ามาศึกษาและวิจัยเป็นจำนวน 40 คน (จากตัวอย่างโครงการใกล้เคียงคือ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม) โดยโครงการเราได้กำหนดให้มีการรับนักวิจัยเข้ามาเพียง 7 %
                อัตราการเพิ่มของนักวิจัยต่อปี       = 7 x 40/100    = 3   คน
                อัตราการเพิ่มของนักวิจัย 10 ปี      = 3 x 10          = 30 คน
                   ดังนั้น จึงมีจำนวนนักวิจัยในโครงการทั้งหมด  = 40+30 = 70 คน

กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน
        คือกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโครงการในแง่ของการบริหารโครงการ และบริการแก่กลุ่มผู้ที่มาใช้โครงการหลัก และผู้ใช้โครงการรอง โดยมีรายละเอียดของกลุ่มผู้บริหารและพนักงาน ดังนี้



ตารางที่2.1 แสดงจำนวนผู้ใช้โครงการหลัก

ตำแหน่ง
หน้าที่
จำนวนบุคลากร
1.คณะกรรมการบริหาร


ผู้อำนวยการ
ควบคุมพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งหมด
1
รองผู้อำนวยการ
เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ
1
1.2 ฝ่ายบริหาร


หัวหน้าฝ่ายบริหาร
ควบคุมการบริหารโครงการ
1
เจ้าหน้าที่บริหารงานธุรการ
ดำเนินการบริหารโครงการ
1
พนักงานธุรการ
ดูแลการเงิน งบประมาณโครงการ
2
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ให้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
2
นายช่างเทคนิค
ซ่อมบำรุง
1
พนักงานเอกสาร
รวบรวมข้อมูล
1
1.3 ฝ่ายอาคารและสถานที่


หัวหน้าฝ่ายอาคารและสถานที่
ควบคุมการทำงานของพนักงาน
1
เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง
ซ่อมบำรุงเครื่องมือและอาคาร
1
พนักงานธุรการ
ควบคุมงบประมาณ
1
พนักงานเอกสาร
รวบรวมข้อมูล
1
1.4 ฝ่ายประชาสัมพันธ์


หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์
ควบคุม วางแผนการประชาสัมพันธ์
1
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ให้ข้อมูลแก้ฝ่ายประชาสัมพันธ์
2
พนักงานโทรศัพท์
ติดต่อประสานงาน
1
1.5 ฝ่ายพัฒนาวิชาการ


หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
ควบคุมและวางแผนงาน
1
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
สรุป ประมวลผลงานวิจัย
2
พนักงานเอกสาร

1
1.6ฝ่ายนิทรรศการ


หัวหน้าฝ่ายนิทรรศการ
ควบคุมการทำงานและวางแผน
1
เจ้าหน้าที่นิทรรศการ
วางแผนและดำเนินงานจัดแสดง
3
เจ้าหน้าที่ข้อมูล
จัดเตรียมข้อมูลในการจัดแสดง
1
เจ้าหน้าที่วางแผน
วางแผนการจัดแสดง
2
2.ฝ่ายวิจัย


ผู้ช่วย ผอ.ส่วนวิจัยด้านน้ำ
วางแผน และดำเนินการงานวิจัย
1
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ทำงานวิจัย
5
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์
ทำงานวิจัย
2
เจ้าหน้าที่ธุรการ
ควบคุมงบประมาณ
1
ผู้ช่วย ผอ.ส่วนวิจัยด้านอากาศ
วางแผน และดำเนินการงานวิจัย
1
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ทำงานวิจัย
5
พนักงานห้องปฏิบัติการ
ทำงานวิจัย
1
เจ้าหน้าที่ธุรการ
ควบคุมงบประมาณ
1
ผู้ช่วย ผอ.ส่วนวิจัยด้านสารพิษ
วางแผน และดำเนินการงานวิจัย
1
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ทำงานวิจัย
5
เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์
ทำงานวิจัย
2
พนักงานธุรการ
ควบคุมงบประมาณ
1
พนักงานห้องปฏิบัติการ
ทำงานวิจัย
1
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
สรุปผล รวบรวมข้อมูล
1
ผู้ช่วย ผอ.ส่วนวิจัยด้านของเสีย
วางแผน และดำเนินการงานวิจัย
1
นักวิชาการสิ่งแวดส้อม
ทำงานวิจัย
3
ผู้ช่วย ผอ.ส่วนวิจัยด้านเสียง
วางแผน และดำเนินการงานวิจัย
1
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ทำงานวิจัย
3
พนักงานเอกสาร
สรุปผล รวบรวมข้อมูล
1
รวมเจ้าหน้าที่ในโครงการ

66

ลักษณะผู้ใช้โครงการ
          ในการพิจารณาในส่วนของกลุ่มผู้เข้าใช้โครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม คือ
-กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก ได้แก่ นักวิจัย 70 คน (อ้างอิงจากบทที่ 1)
-กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง ได้แก่ นักเรียน
-กลุ่มผู้บริหารและพนักงาน
โดยกลุ่มผู้ใช้โครงการแต่ละกลุ่มจะลักษณะเฉพาะตัวในส่วนของกายภาพ สังคม ความรู้สึก ประสบการณ์ โดยสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้โครงการทั้ง 3 กลุ่มออกมาตามลักษณะของผู้ใช้ได้3 ด้าน คือ ทางกายภาพ ทางจิตวิทยา และสังคม ดังนี้

1.ทางด้านกายภาพ
          คือ ลักษณะทางด้านร่างกายของผู้ใช้โครงการกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีความต้องการทางกายภาพที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
กลุ่มนักวิจัย นักวิชาการ จะเป็นกลุ่มที่มีช่วงอายุระหว่าง 25-60 ปี โดยเดินทางมายังโครงการและเริ่มปฏิบัติงานตามทำการของโครงการ คือ ตั้งแต่ 08.00 – 16.30 น. ซึ่งงานด้านการวิจัยจะมีการทำงานล่วงเวลาบ้างและการเดินทางมายังโครงการมีลักษณะเดินทางมาโดยรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง ดังนั้นการออกแบบที่จอดรถควรจะแยกออกจากที่จอดรถสาธารณะ เพื่อความสะดวกและเรียบร้อยในโครงการ
-กลุ่มนักเรียน โดยมากมีจุดประสงค์ของการเข้าชมเพื่อทัศนศึกษา ซึ่งทางโรงเรียนจะจัดมาเป็นกลุ่ม หรืออาจเป็นกลุ่มที่ร่วมมือกับหน่วยงายอื่นๆ ผู้ใช้โครงการกลุ่มนี้จะใช้เวลาเข้าชมโครงการค่อนข้างยาวนานและในการเข้าชมนั้นจะอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์ ดังนั้นโครงการจึงควรมีพื้นที่เข้ามาชม หรือจุดรวมคนภายในโครงการเพื่อให้มีความสะดวกในการควบคุม

2.ทางด้านจิตวิทยา
          -กลุ่มนักวิจัย นักวิชาการ จะเน้นทางด้านการค้นคว้าวิจัยและทำการปฏิบัติการในส่วนของการวิจัยอย่างละเอียด ในส่วนของของการจัดแสดงกลุ่มผู้ใช้กลุ่มนี้จะไม่ค่อยคำนึงถึงการจัดแสดง แต่อย่างใด จะเน้นในเรื่องของเนื้อหาในการจัดแสดงเป็นสำคัญ ดังนั้นในการรับรู้ข้อมูลสิ่งที่จัดแสดงจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะมีความรู้และประสบการณ์โดยตรง กลุ่มนี้จึงมีผลต่อการค้นคว้าวิจัยเป็นอย่างมาก
          -กลุ่มนักเรียน ในการเข้าชมกลุ่มนี้ต้องการความเพลิดเพลินในการรับรู้ โดยมาจะเดินทางมากับโรงเรียนเป็นกลุ่ม การจัดแสดงข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงการจัดแสดงทำความเข้าใจได้ง่าย มีความน่าสนใจ น่าติดตาม โดยจะมีอายุระหว่าง 12-18 ปีต้องการการเรียนรู้จดจำ อยากรู้อยากเห็น ดั้งนั้นโครงการจึงควรออกแบบพื้นที่ใช้สอยให้มีความน่าสนใจทั้งแสง สี ขนาดที่ว่าง ทางสัญจรที่น่าสนใจ เพื่อให้เกิดการรับรู้ในการเข้าชมที่ดี

3.ทางด้านสังคม
           ระดับสังคมที่แตกต่างกันทำให้มีความต้องการที่ต่างกัน พฤติกรรมการใช้สอยพื้นที่ที่แตกต่างกัน การออกแบบจึงต้องมีความแตกต่างตามกลุ่มผู้ใช้อาคาร ดังนี้
-นักวิจัย นักวิชาการ ผู้ใช้โครงการกลุ่มนี้ จะมีการศึกษาที่ดี มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาการสูง มีศักยภาพทางการเงินที่สูง ต้องกาสมาธิในการทำงาน ใช้ชีวิตอย่างมีหลักการเสมอ
-นักเรียน มีอายุระหว่าง 12-18 ปี อยู่ในช่วงของการเรียนรู้ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ต้องการความเพลิดเพลินในการค้นคว้า ความคิดและการเงินไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากนัก
พื้นฐานข้อมูลเบื้องต้นที่กล่าวมาสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวคิดสำหรับผู้ใช้โครงการแต่ละกลุ่มให้มีความเหมาะสม โดยนำมาวิเคราะห์แยกตามกิจกรรมหลัก ปริมาณผู้ใช้ และจากลักษณะของผู้ใช้ได้

2.1.2 กิจกรรม
           เป็นการศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรม ลักษณะของกิจกรรม และรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ การตอบสนองพฤติกรรม รวมถึงช่วงเวลาและความถี่ของกิจกรรมนั้นๆ ภายในโครงการ ลักษณะกิจกรรมของผู้ใช้ภายในโครงการจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ใช้โครงการ ดังนี้
1.ประเภทของกิจกรรม
2.พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม

1. ประเภทของกิจกรรม

ตารางที่2.2 แสดงประเภทของกิจกรรม
ประเภทกิจกรรม
ผู้ร่วมกิจกรรม
จำนวนผู้ใช้
บริเวณที่มีกิจกรรม
ความถี่
ระยะเวลา
การวิจัย
นักวิจัย
ผู้ช่วย
70
ส่วนวิจัย
ตลอดวัน
8ชั่วโมง
นิทรรศการ
นักเรียน
70
ส่วนจัดแสดงงาน
1ครั้ง/วัน
8ชั่วโมง
สัมมนา
นักเรียน
นักวิชาการ
150
ห้องสัมมนา
1ครั้ง/วัน
2-3ชั่วโมง
บริการอาคาร
เจ้าหน้าที่อาคาร
30
ส่วนบริการอาคาร
ตลอดวัน
8ชั่วโมง
บริหาร
เจ้าหน้าที่บริหาร
23
ส่วนบริหาร
ตลอดวัน
8ชั่วโมง
ทานอาหารพักผ่อน
ทุกคน
193
ส่วนกลาง
1-2ครั้ง/วัน
1 ชั่วโมง
ประเมินผลงานวิจัย
เจ้าหน้าที่ประเมิน
2
ส่วนประเมิน
1ครั้ง/วัน
3ชั่วโมง


2. พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม
-ปฏิบัติการวิจัยค้นคว้า จำเป็นต้องใช้สมาธิในการทำงาน เงียบสงบ อำนวยต่อการทำงาน ระบายอากาศได้ดีไม่แออัด มีมุมมองที่ดี
-แสดงนิทรรศการ ควรจะมีแสงและเสียงที่น่าสนใจ มีทางสัญจรที่ดี สอดคล้องกับการนำเสนองาน
-การจัดสัมมนา การออกแบบที่ว่างต้องมีความสะดวกในการทำงานร่วมกัน ไม่มีเสียงรบกวน มีแสงเพียงพอ
-การรับประทานอาหาร ต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นสำคัญ ระบายอากาศ มีการเข้าบริการที่ง่าย


2. ตารางเวลา
             ลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เวลาในแต่ละส่วนต่างๆของภายในโครงการกับลักษณะของการดำเนินกิจกรรมภายในโครงการโดยเปรียบเทียบกับเวลาการใช้งานของโครงการต่างๆในกรณีศึกษาโครงการเป็นข้อกำหนดให้ผู้ออกแบบได้พิจารณาถึงการแยกองค์ประกอบดังกล่าวให้มีการเข้าออกในช่วงที่ปิดทำการโครงการนอกจากนี้ยังมีผลต่อการกำหนดระบบเทคโนโลยีอาคารโดยลักษณะตารางเวลาที่ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์
               -แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการ ภายในหนึ่งสัปดาห์
                    -แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการ ภายในหนึ่งวัน



2.2 ข้อมูลพื้นฐานทางด้านรูปแบบ (FORM FACT)
            
              ศึกษาข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้ง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งของโครงการ รวมไปถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโครงการ ที่เป็นปัจจัยในการออกแบบผลทางสุนทรียภาพ และจิตวิทยาของผู้ใช้
            2.2.1 ที่ตั้ง(Site) และสภาพแวดล้อม(Environment)
            2.2.2 จินตภาพ(Image)
         
          2.2.1ที่ตั้ง(Site) และสภาพแวดล้อม (Environment)
            ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับที่ตั้ง และสภาพแวดล้อมของโครงการที่นำมาใช้ในการเลือกที่ตั้งโครงการ(Criteria for Site Selection) โดยอ้างอิงจากโครงการที่เป็นกรณีศึกษา โดยโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม มีหลักเกณฑ์ และหัวข้อในการพิจารณา ดังนี้


หลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ตั้ง

ระดับความสำคัญต่อการเลือกที่ตั้งโครงการ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ไม่มี
ราคาที่ดิน




*

การใช้ที่ดิน

*




โครงสร้างบริการสาธารณะพื้นฐาน


*



ความสะดวกในการเข้าถึง

*



การคมนาคม และสภาพการจราจร  


*



ลักษณะประชากร


*



ความปลอดภัย


*



ความเหมาะสมของประเภทอาคาร



*


การมองเห็นที่ตั้งและลักษณะเชื้อเชิญ




*

ทิวทัศน์ 


*



ความสัมพันธ์โครงการที่เกี่ยวข้อง
*





แนวโน้มการได้รับประโยชน์จากระบบขนส่งมวลชน




*

การขยายตัวโครงการ



*


แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน




*

แนวโน้มการขยายตัวของชุมชนข้างเคียง


*




2.2.2จินตภาพ(Image)                                                                             
         การศึกษาข้อมูลของลักษณะภายนอกและ  ภายในที่ปรากฏออกมาในงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านรูปทรง สี องค์วัสดุ หรือประกอบอื่นๆที่มองเห็นแล้วก็ให้เกิดจินตภาพที่สอดคล้องกับแนวความคิดของโครงการ                                                                                                โดยโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม  ได้ทำการศึกษาทางด้านจินตภาพของโครงการที่สอดคล้องกับลักษณะของโครงที่เป็นสถาบันทางการศึกษา โดยอ้างอิงถึงโครงการประเทศต่างๆที่มีคุณภาพทางด้านจินตภาพโครงการ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการศูนย์วิจัยกล้วยไม้  เพื่อการส่งออกอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีหัวข้อรายละเอียดในการพิจารณา ดังนี้                                         
1.จินตภาพภายนอก                                            
2.จินตภาพภายใน

1)จินตภาพภายนอก                                      
 ศึกษาภาพรวมที่ปรากฏอยู่ภายนอกของงานสถาปัตยกรรมของอาคารที่เป็นกรณีศึกษา เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวความคิด  วิธีการจัดการ และวิธีการออกแบบให้ได้ตามแนวความคิดที่วางไว้  โดยมีรายละเอียดย่อยในการพิจารณาดังนี้
- รูปร่างและรูปทรง
- ลักษณะ
สถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงการอยู่รวมกับธรรมชาติ และบ่งบอกความเป็นโครงการ ทั้ง ในส่วนของรูปทรง พื้นที่ว่าง วัสดุและองค์ประกอบ การสร้างภาพลักษณ์เฉพาะตัวให้แก่งานสถาปัตยกรรม

-รูปแบบ
เป็นโครงการที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย ผสมผสานกับความเป็นธรรมชาติกับบริบทโดยรอบ

-สัดส่วน จังหวะ และลำดับ
โครงการที่มีสัดส่วนของอาคารที่สวยงาม สามารถบอกความสำคัญของแต่ละการใช้ประโยชน์ใช้สอยภายในโครงการได้อย่างชัดเจน อีกทั้งการใช้องค์ประกอบต่างๆที่เห็นได้จากภายนอก เป็นตัวกำหนดจังหวะ และลำดับของตัวงานสถาปัตยกรรมซึ่งมีผลต่อมุมมองจากภายนอกสู่ตัวอาคาร

-สภาพแวดล้อมโครงการ
                                     โครงการที่มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม โดยเฉพาะการออกแบบอาคารโดยการ
                                     ใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมก็จะทำให้อาคารโครงการเกิด
                                     ความประหยัดในด้านก่อสร้าง และสามารถใช้สภาพแวดล้อมมาเสริมสร้างภาพ                              ลักษณ์โครงการให้โดดเด่นยิ่งขึ้น




รูปภาพที่ 2.2 แสดงจินตภาพภายนอกโครงการ

2)จินตภาพภายใน(Internal Image)
การศึกษาถึงลักษณะจินตภาพภายในของโครงการที่เป็นกรณีศึกษา ซึ่งนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่ว่างของโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมโดยมีรายละเอียดในการพิจารณาจินตภาพภายในโครงการ ดังนี้

ลักษณะและคุณภาพของพื้นที่ว่าง
โครงการที่มีลักษณะและคุณภาพของพื้นที่ว่างที่สามารถสื่อภาพลักษณ์ของโครงการออกมาได้ดี โดยเฉพาะในการเชื่อมพื้นที่ว่างภายในแต่ละส่วนของอาคาร การเชื่อมต่อพื้นที่ว่างภายในและภายนอกอาคาร ตลอดจนพื้นที่ว่างที่เป็นพื้นที่ว่างหลักของโครงการนั้นต่างมีลักษณะที่โดดเด่น และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่โครงการ

                                     - แสงในโครงการ(Lighting)



รูปภาพที่ 2.3 แสดงการใช้แสงภายในอาคาร
ที่มา : http://www.archdaily.com/198318/ceig-testing-assessment-research-center-lycs-architecture/

2.3 ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์
ศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งมีผลกระทบในด้านความเป็นไปได้ของโครงการในระยะแรก และมีผลต่อคุณภาพของอาคาร รูปแบบอาคาร ขนาดพื้นที่ใช้สอย วัสดุ ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะโครงการในทุกๆด้าน                    
    
2.3.1.การลงทุนของโครงการ
2.3.2.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

2.3.1การลงทุนของโครงการ
จากการศึกษาและการวิเคราะห์จะพบว่าโครงการเพื่อการศึกษา และการแสดงงาน เป็นโครงการที่มีต้นทุนสูง เนื่องจากเป็นโครงการที่มีการนำเข้าถึงเทคโนโลยีที่นำสมัยและเป็นหัวข้อที่นำมาพิจารณา แต่ในหัวข้อนี้สามารถแบ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อความละเอียด และชัดเจนยิ่งขึ้นได้ดังนี้

1)แหล่งที่มาของเงินทุน                                                                                                                      
2)งบประมาณการลงทุน                                                                                                                     
3)ค่าก่อสร้าง                                                                                                                        
4)ค่าใช้จ่าย

1)แหล่งที่มาของเงินทุน                                                                                                          
เนื่องจาก โครงการ ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการของภาครัฐ อยู่ภายใต้การดูแลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจากกรณีศึกษาของโครงการประเภทศูนย์วิจัยของรัฐ จะมีงบประมาณและเงินทุนสนับสนุนจากรัฐเป็นหลักโดยอาจมีการร่วมมือสนับสนุนกันระหว่างธนาคาร

2)งบประมาณการลงทุน
ในส่วนของงบประมาณการาลงทุนมีการแบ่งเป็นหัวข้องบประมาณการก่อสร้างเป็นรายละเอียด ดังนี้             
                                                                                                                          
                            งบประมาณทั้งหมด                                                                                                               
ค่าที่ดินโครงการและพัฒนาที่ดิน                      คิดเป็น 5% ของราคาที่ดิน                                              
ค่าก่อสร้าง
-ค่าก่อสร้างภายนอกและงานภายนอก                                              คิดเป็น 2%        ของค่าก่อสร้าง
-ค่าจัดสวนคิดเป็นตารางเมตรละประมาณ      10,000บาท ต่อตารางเมตร       
-ค่าตกแต่งภายใน                                      คิดเป็น 30%      ของค่าก่อสร้าง  
-ค่าระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ    คิดเป็น 7.5%         ของค่าก่อสร้าง
-ค่าธรรมเนียมการออกแบบ และควบคุมงาน คิดเป็น 15%       ของค่าก่อสร้าง
-ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการเป็นเงินหมุนเวียน          คิดเป็น 1% ของค่าก่อสร้าง

3)ค่าก่อสร้าง                                                                                                                                            
จากการศึกษาจากกรณีศึกษา  โครงการศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวจะพบว่า
งบประมาณโครงการประมาณ              267      ล้านบาท                                               
ค่าก่อสร้างโครงการประมาณ                240      ล้านบาท                                               
พื้นที่โครงการทั้งหมด                          12,000 ตารางเมตร                                  
จากการศึกษากรณีโครงการศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว แล้วคำนวณตามงบประมาณการลงทุนจะพบว่า         
งบประมาณโครงการ                22,250   บาทต่อตารางเมตร                                                      
ค่าก่อสร้าง                               20,000  บาทต่อตารางเมตร
ค่าจัดสวน                                                     10,000             บาท ต่อตารางเมตร                    
ค่าตกแต่งภายใน                                            25,000,000      บาท                                         
ค่าระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ              2,000,000        บาท                                                                                                                         
ค่าธรรมเนียมการออกแบบ และควบคุมงาน        4,050,000        บาท                                         
ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการเป็นเงินหมุนเวียน    270,000          บาท                                                               
ซึ่งจากการคำนวณดังกล่าวจะใช้เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาในการคำนวณ หางบประมาณการลงทุน

4)ค่าใช้จ่าย                                                                                                                                      
จากการศึกษากรณีศึกษาจะพบว่าค่าใช้จ่ายของโครงการสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายได้เป็น                    
-ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ                                                                                                    
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้พบว่าสามารถเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการก่อสร้างโครงการทั้งหมด  ในช่วงเวลานี้ โครงการยังไม่มีรายรับเพราะโครงการประเภทนี้จะเริ่มมีรายรับหลังจากที่เปิดดำเนินการแล้ว      
          
-ค่าใช้จ่ายหลังเปิดดำเนินการ                                                                                                    
ค่าใช้จ่ายในส่วนของหลังการเปิดทำการโครงการ สามารถแบ่งออกได้เป็น                                                               
รายรับ ประกอบด้วย ค่าเข้าอบรมสัมมนา ส่วนแสดงงาน ค่าเช่าส่วนห้องประชุม
รายจ่าย ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในด้านบริหาร  ได้แก่ เงินเดือนพนักงาน  ค่าใช้จ่ายรายเดือนด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และด้านการประชาสัมพันธ์สถาบัน ค่าบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และค่าประกันต่างที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน

                                                        
2.4  ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี(Technology Facts)             
2.4.1.ด้านพลังงาน
2.4.2.ด้านระบบระบายอากาศ
2.4.3.ด้านระบบรักษาความปลอดภัย(Security Management)
2.4.4.ระบบบริหารความปลอดภัยของผู้ใช้งาน(Occupant Safety Management )
2.4.5.ระบบบริหารสายสัญญาณ ( Cable Management)
2.4.6.ด้านระบบโครงสร้างอาคาร
2.4.7.ด้านระบบวัสดุอาคาร

2.4.1.ด้านพลังงาน
ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมการใช้พลังงานของอาคารที่ได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์และระบบอิเล็กโทรนิกที่ช่วยควบคุมพลังงานภายในอาคาร เช่น ระบบแสงสว่างเปิด-ปิด อัตโนมัติ โดยจะบริหารให้ได้ประโยชน์สูงสุด ให้เสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด

2.4.2.ด้านระบบระบายอากาศ
ทำหน้าที่ระบายอากาศเสียหรือควันพิษที่เกิดจากการทดลอง และการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร โดยใช้เทคโนโลยีการดูดควันและอากาศออกจากตัวอาคาร

2.4.3.ด้านระบบรักษาความปลอดภัย(Security Management)
ทำหน้าที่ตรวจตรา และตรวจสอบ การเข้า-ออกอาคารของบุคคลประเภทต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ ตั้งแต่ ระบบควบคุมทางเข้า-ออก (Access Control) ,อุปกรณ์ตรวจสอบความร้อน ,กล้องวงจรปิด,ระบบตรวจสอบการเคลื่อนไหวฯลฯ โดยจะต่อสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยส่วนกลาง ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์

2.4.4.ระบบบริหารความปลอดภัยของผู้ใช้งาน(Occupant Safety Management )
ทำหน้าที่ควบคุมระบบแจ้งเตือนไฟไหม้ ระบบดับเพลิง ระบบอัดอากาศ และระบายควัน โดยการทำงานจะประสานกันทั้งหมด เพื่อให้ระบบการป้องกันภัยมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.4.5.ระบบบริหารสายสัญญาณ ( Cable Management)
สายสัญญาณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งการวางระบบสายสัญญาณจะไม่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่จะเกิดขึ้นค่อยเป็นค่อยไปในระหว่างการใช้อาคารซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนชนิดและตำแหน่งของอุปกรณ์ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาในอาคาร ซึ่งจะใช้โปรแกรมเก็บข้อมูลการวางสายสัญญาณของอาคารทั้งหมด เพื่อช่วยในการวางแผน แก้ไขเพิ่มเติมสายสัญญาณต่างๆ ในอนาคต

2.4.6.ด้านระบบโครงสร้างอาคาร
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับงานระบบอาคารงานระบบภายในอาคาร การกำหนดชนิดประเภทความสามารถในการทำงานตลอดจนประสิทธิภาพต่างๆและระบบอื่นๆที่มีความจำเป็นต่อโครงการ โดยระบบภายในอาคารทั่วไปของโครงการ มีดังนี้
1)ระบบโครงสร้างอาคาร (Structure)                                                                           
2)ระบบปรับอากาศ(Air-Conditioning)                                                                
3)ระบบสุขาภิบาล(Sanitary)                                                                                                                                                             
4)ระบบไฟฟ้ากำลัง(Electricity)                                                  
5)ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน(Emergency System)                                                                      
6)ระบบป้องกันฟ้าผ่า(Lighting Protection System)                                                          
7)ระบบสื่อสารโทรคมนาคม(Communication)                                                                         
8)ระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบดับเพลิง(Fire Protection Extinguishers)         
9)ระบบแสงสว่าง(Lighting)                                                                                                                                                                       
10)ระบบลิฟต์ขนส่ง(Elevator)                                                                        
11)ระบบกำจัดขยะ

1.ระบบโครงสร้างอาคาร (Structure)                                   
-       ระบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้ในส่วนของฐานรากและส่วนที่ติดกับพื้นดิน จะช่วยในการป้องกันความชื้นได้ดี รวมถึงใช้ในส่วนของห้องน้ำ หรือในส่วนที่ต้องใช้งานระบบสุขาภิบาล
-       ระบบโครงสร้าง Long Span เนื่องจากโครงการมีการใช้พื้นที่บางส่วนที่มีการใช้พื้นที่บริเวณกว้างจึงต้องคำนึงถึงโครงสร้างที่จะมารองรับในส่วนที่เป็นหลังคา จากกรณีศึกษามีหลายรูปแบบที่สามารถทำได้ เช่น truss หรือระบบโครงข้อหมุนสามมิติ

2.ระบบปรับอากาศ(Air-Conditioning)

                         -       ระบบปรับอากาศ VRV System หรือระบบ Variable Refrigerant Volume ระบบ                         ปรับอากาศชนิดนี้ คือระบบปรับอากาศแบบ Split Typeขนาดใหญ่โดยได้คงส่วนดี                             ของระบบ Split Type เดิมไว้แล้วเพิ่มความสามารถใหม่ๆเข้าไปในระบบอีกหลาย                               อย่าง เพื่อให้ ระบบนี้สามารถทางานอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานสะดวก และ                                   ยืดหยุ่นมากขึ้น กว่าระบบ Sprite Type เดิม มีการพัฒนาให้ท่อน้ำยาเดินไปได้ไกล                             ขึ้น

3.ระบบสุขาภิบาล(Sanitary)
- ระบบประปา เป็นระบบ Up Feed System โดยระบบจ่ายน้ำประปาขึ้นจากชั้นล่างของอาคารไปแจกจ่ายทั่วอาคารจนถึงชั้นบนของอาคาร
                         - ระบบน้ำเสียเป็นระบบ Aerobic Treatment เป็นระบบที่มีความเหมาะสมกับโครงการ                          มากที่สุด เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง ใช้เนื้อ ที่ในการก่อสร้างน้อย โดยเหมาะสม                            กับอาคารขนาดใหญ่ โดยมีหลักการคือการเติมจุลชีพลงไป เพื่อย่อยสลายอินทรีย์                            ในน้ำ เสียที่เป็นตะกอนโดยเครื่องเติมอากาศทางานตลอดเวลาโดยน้ำเสียที่บำบัด                            แล้วจะไหลลงสู่ท่อสาธารณะ                                                                                 
                               
                        4.ระบบไฟฟ้ากำลัง(Electricity)  
                        -ระบบไฟฟ้ากำลังแบบ Sub-Station เป็นระบบที่เหมาะสมกับโครงการที่มีขนาดใหญ่                         เนื่องจากต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก และระบบนี้สามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย เพราะ                           เป็นของเฉพาะที่ใช้ในโครงการ         
                                                                   
5.ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน(Emergency System)                                                                      
6.ระบบป้องกันฟ้าผ่า(Lighting Protection System)                                  
       
7.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม(Communication)
                          -       ระบบโทรศัพท์ (Telephone System) PABX เป็นระบบที่นำมาใช้ภายใน                                   องค์กรของโครงการเนื่องจากเป็นระบบที่เป็นการจำลองชุมสายโทรศัพท์ และ                                 กระจายตามหน่วยย่อยภายในโครงการ ซึ่งจะเป็นการจัดการควบคุมส่วนต่างๆของ                             โครงการ และประหยัดกว่าระบบโทรศัพท์ปกติ
                          -       ระบบอินเตอร์เน็ต โดยโครงการจะเป็นการใช้ระบบไร้สาย Internet-Wireless                              ซึ่งครอบคลุมในระยะสัญญาณในระยะใกล้ และมีการควบคุมสัญญาณได้ ประหยัด                             การใช้สายสัญญาณ และการดูแลรักษา เน้นการใช้งานภายในองค์กร และผู้มา                                 ติดต่อในโครงการ และระบบ Wi-Fi สาหรับการกระจายสัญญาณระยะไกล                                         ครอบคลุมโครงการและบริเวณโดยรอบ โดยควบคุมจากศูนย์บริการโทรคมนาคม                             สื่อสารของโครงการ

8.ระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบดับเพลิง(Fire Protection Extinguishers)                                                                 
9.ระบบแสงสว่าง(Lighting)                                                                                       
10.ระบบลิฟต์ขนส่ง    (Elevator)                                                                    
11.ระบบกำจัดขยะ

2.4.7.ด้านระบบวัสดุอาคาร
เนื่องจากโครงการนี้ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้น และมีอุณหภูมิสูงเกือบตลอดทั้งปี สิ่งที่ควรคำนึงในการออกแบบ คือ การลดปริมาณความร้อนที่จะเข้ามาภายในอาคาร ดังนั้น เพื่อลดปริมาณความร้อนจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่จะนำมาใช้กับอาคารที่เหมาะสม ซึ่งควรมีลักษณะ ในการกันความร้อนได้ดี ไม่เป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อม ราคาประหยัด สวยงามและทนทานต่อสภาวะอากาศ ได้แบ่งออกเป็นประเภทการใช้งานดังนี้
1) กระจก
กระจกฮีตสต๊อป (Heat Stop) เป็นกระจกที่ใช้ในส่วนที่มีการปรับอากาศ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายนอกอาคารช่วยในการลดภาระการปรับอากาศในอาคารได้เป็นอย่างดี

2) ผนัง
- ผนังระบบกันความร้อนภายนอก (EIFS)
ผนังระบบ EIFS มีการใช้ฉนวนประเภทโฟม ไฟเบอร์กลาส และระบบเคลือบกันความเสียหายจากความร้อนและความชื้นด้านนอกอาคารไว้โดยรอบ และยังมีน้ำ หนักเบาทำให้ทางานได้ง่าย จุดเด่นของระบบผนัง EIFS คือ เมื่อนำไปใช้กับผนังภายนอกอาคารแล้วสามารถป้องกันการแตกร้าวได้ดีมาก อีกทั้งวัสดุที่ใช้เคลือบภายนอกก็เป็นสารผสมทรายที่กันรังสี UV ได้ดี มีสารซึ่งทำหน้าที่ป้องกันผนังจากรอยร้าวและความชื้น ทำให้ผนังมีสภาพคงทนสวยงาม จะใช้กับผนังในส่วนทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

- ผนังก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้นมีช่องอากาศ
ผนังนี้คล้ายกับผนังก่ออิฐฉาบปูน2ชั้นชั่วไป แต่ป้องกันความร้อนได้ดีกว่า เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างผนังจะช่วยเป็นฉนวนให้กับผนัง นำไปใช้กับทุกส่วนของอาคาร

3) พื้น
ถ้าบริเวณโดยรอบอาคารมีการปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและมีอุณหภูมิดินที่เย็นแล้ว สามารถเลือกใช้วัสดุพื้น ที่ดึงเอาความเย็นจากดินมาใช้ในอาคาร ทำให้ผิวของพื้นของอาคารนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่าผิวกายของมนุษย์และเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างผิวกายกับสภาพแวดล้อมทำให้รู้สึกเย็นกว่าปกติ ซึ่งเป็นการใช้ของการถ่ายเทความร้อนระหว่างตัวคนกับสภาพแวดล้อมเทคนิคของการทำผิวของสภาพแวดล้อมให้เย็นนี้ เป็นเอกลักษณ์ที่
พบได้ในสถาปัตยกรรมไทย วัสดุพื้น ชนิดอื่น ๆ ก็สามารถนามาใช้ในอาคารได้ ถ้ามีความเข้าใจใน
คุณสมบัติของวัสดุ และนาไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น
- ไม้ มีคุณสมบัติเป็นฉนวนในระดับหนึ่ง ถ้านำมาใช้กับพื้นชั้นล่างจะลดค่าการนำความร้อนจากดินลงไปมากทำให้สูญเสียความรู้สึกเย็นจากสภาพแวดล้อมลงไปเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้หินชนิดต่าง ๆ
- หินแกรนิตมีความคงทนแต่ให้ความรู้สึกที่แข็งกระด้างเหมาะกับการใช้งานในบริเวณพื้น นอกอาคาร
- กระเบื้องเคลือบ มีความคงทน และดูแลรักษาง่าย จะใช้ในส่วนของห้องวิจัย
4) วัสดุมุงหลังคา
-                  เมทัลชีท เป็นแผ่นโลหะรีดลอน มีคุณสมบัติที่เป็นแผ่นยาวลดปัญหาการรั่วซึมของน้ำได้ดี เพราะไม่มีรอยต่อระหว่างแผ่นมากเหมือนกระเบื้อง ทำให้มีความทนทานมากกว่า ในการติดตั้งจะต้องติดตั้งจะต้องมีฉนวนกันเสียงและกันร้อนบริเวณใต้แผ่นหลังคาเพื่อช่วยลดความร้อนเข้าสู่อาคาร จะให้ในส่วนของอาคารสัมมนาและร้านอาหาร
- Green roofs ที่หมายถึง หลังคาที่เป็นสีเขียวจากการมีพืชพันธุ์ ปก
คลุมอยู่ข้างบนไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณในลักษณะพืชคลุมดิน ไม้เลื้อย
หรือลักษณะใดๆก็ตามเน้นคำนึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยตรง
นอกเหนือไปจากการสร้างสภาวะสบายและการลดการใช้พลังงาน
ของอาคาร ใช้ในส่วนของอาคารวิจัยซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- Green roofs ที่เป็นสวนหลังคา (Roof garden)
สามารถออกมาใช้สอยพื้นที่ได้
- Green roofs ที่เน้นการปลูกพืชพันธุ์บนหลังคาไม่ได้เน้นที่
ประโยชน์ใช้สอย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น