บทที่1

เป้าหมายโครงการ

               ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานวิจัย ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ผลงานที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และยังเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง
ในการกำหนดเป้าหมายโครงการนั้น จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่จัดวางไว้ โดยที่เป้าหมายโครงการนั้นสามารถจัดแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามปัจจัยในการพิจารณาทางสถาปัตยกรรม ดังนี้
1.1  เป้าหมายโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย
1.2  เป้าหมายโครงการด้านรูปแบบ
1.3  เป้าหมายโครงการด้านเศรษฐศาสตร์
1.4  เป้าหมายโครงการด้านเทคโนโลยี

    1.1 เป้าหมายโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย

        1.1.1 กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้โครงการ

ก. กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก คือ กลุ่มผู้ใช้โครงการที่เข้ามาประกอบหรือร่วมกิจกรรมหลัก มีจำนวนและพื้นที่การใช้สอยที่แน่นอน  ผู้ใช้กลุ่มนี้ ได้แก่ กลุ่มนักวิจัย นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม


รูปภาพ 1.1 แสดงลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักวิจัย นักวิชาการ

ข. กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง คือ กลุ่มผู้ใช้โครงการที่เข้ามาร่วมกิจกรรมสนับสนุนโครงการ ที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าใช้โครงการแตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่ม จะแบ่งได้เป็น
                            - นักเรียน เป็นกลุ่มที่มีความสนใจในโครงการเพื่อเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ รวมทั้งชมนิทรรศการ เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากและมักจะเดินทางมาเป็นหมู่คณะ


 รูปภาพ 1.2 แสดงลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียน

                             - ผู้บริหารและพนักงาน คือ กลุ่มบุคลากรในระดับบริหารที่จัดการดำเนินงานแก่โครงการ กลุ่มของพนักงานจะแบ่งออกตามหน้าที่ตามความรับผิดชอบในฝ่ายงานต่างๆ เช่น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายอาคาร


การกำหนดปริมาณผู้เข้าใช้โครงการ สามารถพิจารณาได้เป็น

1. นักวิจัย นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม
                            จากการการศึกษากรณีศึกษา(Case study)  จำนวนนักวิจัยที่เข้ามาใช้มากที่สุดใน 1 วัน มีจำนวนกลุ่มผู้ที่เข้ามาศึกษาและวิจัยเป็นจำนวน 40 คน (จากตัวอย่างโครงการใกล้เคียงคือ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม) โดยโครงการเราได้กำหนดให้มีการรับนักวิจัยเข้ามาเพียง 7 %
                               อัตราการเพิ่มของนักวิจัยต่อปี       = 7 x 40/100    = 3   คน
                               อัตราการเพิ่มของนักวิจัย 10 ปี      = 3 x 10                                               = 30 คน
                    ดังนั้น จึงมีจำนวนนักวิจัยในโครงการทั้งหมด  = 40+30                                      = 70 คน

                        2. นักเรียน
                            จากการศึกษาจำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัด พบว่า มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 16,193 คน กำหนดให้มีนักเรียนเข้ามาศึกษา 80% ต่อปี                     = 16,193 x 80/100 คน
                                                   = 12,954.40 คน
                            ใน 1 วันจะมีนักเรียนเข้ามาศึกษาโครงการจำนวน 35 คน โดยนักเรียน 1 คนจะมากับผู้ปกครอง 1 คน จะเท่ากับ 35 x 2 = 70 คน
                   ดังนั้น จึงมีคนเข้ามาชมโครงการจำนวนทั้งหมด 70 คน

          1.1.2 เป้าหมายองค์ประกอบโครงการและพื้นที่ใช้สอยโครงการ

                   โครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการที่มุ่งเน้นทางด้านงานศึกษา ค้นคว้า และวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้โครงการยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของการจัดนิทรรศการ จากที่กล่าวมาข้างต้น พอจะคาดการณ์เพื่อกำหนดองค์ประกอบด้านหน้าที่การใช้สอยและพื้นที่การใช้สอยของโครงการได้ดังนี้
1.      ส่วนบริหารโครงการ
2.      ส่วนวิจัย
3.      ส่วนประชุม สัมมนา
4.      ส่วนนิทรรศการ
5.      ส่วนบริการโครงการ
6.      ส่วนจอดรถ

พื้นที่โครงการ (Area Requirment)
          โครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม มีการกำหนดพื้นที่ใช้สอยโครงการจากกรณีศึกษา ดังนี้
เนื่องจากเป็นโครงการศูนย์วิจัย
นักวิจัยทั้งหมดในโครงการ 70 คน จึงใช้พื้นที่ 18-20 ตารางเมตร/คน (จาก case study)
                           ต้องใช้พื้นที่ 70 x 20 = 1,400 ตารางเมตร
พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นๆ 50 คน จึงใช้พื้นที่ 16-20 ตารางเมตร/คน (จาก case study)
                           ต้องใช้พื้นที่ 50 x 20 = 1,000 ตารางเมตร
   พื้นที่รวมทั้งหมด 1,400 + 1,000 = 2,400 ตารางเมตร
สัดส่วนที่ตั้งโครงการ : พื้นที่โครงการ = 1: 0.40 (จาก case study)
ดังนั้นขนาดที่ตั้งโครงการประมาณ 6,000 ตารางเมตรหรือ 3.75 ไร่



1.2   เป้าหมายโครงการด้านรูปแบบ
                  การกำหนดเป้าหมายทางด้านรูปแบบ คือ การกำหนดรูปลักษณ์ของโครงการที่มีผลต่อบุคคลที่มาดำเนินกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกโครงการ โดยการกำหนดป้าหมายโครงการทางด้านรูปแบบ จะประกอบไปด้วยปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย ดังนี้                                                                       
1. การเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ
2. การกำหนดขนาดที่ตั้งโครงการ
3. เป้าหมายจินตภาพโครงการ

1.2.1 การเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ

                โครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการที่กำหนดให้เป็นโครงการเสนอแนะรัฐบาลอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมมลพิษ จัดตั้งขึ้นเพื่อการมุ่งเน้นทางด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการป้องกันและแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและเหมาะสม และส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่นักเรียน
                                                                                    ดังนั้นโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการจัดตั้งบนพื้นที่ที่มีความพร้อมทางด้านสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการวิจัย โดยมีหลักการพิจารณาทำเลที่เหมาะสมเบื้องต้นดังนี้
1.       ที่ตั้งโครงการควรจะมีระบบสัญจรที่ดี มีการเชื่อมโยงกับโครงข่ายคมนาคมที่สะดวก
2.       ที่ตั้งโครงการควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการวิจัย สภาพแวดล้อมไม่แออัด มีความพร้อมต่อ     การศึกษา
3.       ที่ตั้งโครงการควรมีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่มีความพร้อมมารองรับ
4.       ที่ตั้งโครงการควรจะตั้งอยู่ในแหล่งที่มีการใช้สอยของประโยชน์ที่ดินที่สนับสนุน
                  ดังนั้นการพิจารณาหาที่ตั้งโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม จะต้องตอบสนองหลักเกณฑ์เบื้องต้นนี้ ซึ่งในการพิจารณาที่ตั้งโครงการจะเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
1.       การพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการในระดับภาค
2.       การพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการในระดับจังหวัด
3.       การพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการ


1. การพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการในระดับภาค
           เนื่องจากโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการมุ่งเน้นการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม จึงมีความจำเป็นต้องเลือกพื้นที่ที่มีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เพื่อเข้าไปป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น
           ดังนั้น การเลือกทำเลที่ตั้ง พิจารณาจากภาคที่มีการจัดตั้งนิคมอุตสากรรม ที่ก่อให้เกิดผลกระทบมากที่สุด

 รูปภาพ  1.3 แสดงที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย

รูปภาพ 1.4 แสดงการเปรียบเทียบปริมาณของเสียในแต่ละภาค

            จากแผนภูมิภาพ แสดงให้เห็นว่า บริเวณพื้นที่ภาคตะวันออก มีปริมาณกากของเสียมากที่สุด ทั้งของเสียที่ไม่เป็นอันตราย และของเสียที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะของเสียที่เป็นอันตรายที่จำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด ถึง 4.5 ล้านตันต่อปี
           ดังนั้นภาคตะวันออกจึงมีความเหมาะสมสำหรับการจัดตั้งโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อไป



2.การพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการในระดับจังหวัด
                 การพิจารณาเลือกที่ตั้งในระดับภูมิภาคนี้ จะพิจารณาจากปริมาณของเสียทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย และความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล เนื่องจากโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการที่ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการเข้าถึงพื้นที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ 


 ตาราง 1.1 แสดงปริมาณกากของเสียรวม

                จากข้อมูล  ทำให้พิจารณาหาที่ตั้งโครงการได้ว่า ระยอง เป็นจังหวัดที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับเป็นที่ตั้งโครงการ โดยมีเหตุสนับสนุนที่ตั้งโครงการ ดัง

 1.ระยองมีความพร้อมในปัจจัยสนับสนุนโครงการให้บรรลุเป้าหมายได้ เช่น มีหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีหน่วยงานที่มีกิจกรรมสนับสนุน
2.ระยอง มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการครบถ้วนรองรับ
3.ระยอง มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่สามารถติดต่อ ประสานงานกันได้สะดวก
4.ระยอง มีปัญหาทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจนเกิดมลภาวะมากที่สุด
               จากข้อสรุปดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ระยองมีความเหมาะสมในการจัดตั้งโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม แวดล้อมด้วยองค์ประกอบที่เพียบพร้อมที่จะทำให้โครงการบรรลุเป้าหมายตามจุดประสงค์ที่วางไว้ โดยโครงการจะเป็นศูนย์กลางของการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และรวบรวมข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการนำไปซึงการหาวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป

3.การพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการ
                หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
                           -การคมนาคม มีความสะดวกต่อการจัดซื้อขนส่งอุปกรณ์การทดลองต่างๆ
                           -โครงการสนับสนุน องค์กรหรือหน่วยงาน ที่จะช่วยสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันได้ และเพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงาน
                          -สภาพแวดล้อม อยู่ใกล้บริเวณแหล่งที่เก็บข้อมูล เก็บตัวอย่าง เพื่อนำการค้นคว้า วิจัย เป็นพื้นที่ที่ไม่มีความแออัดของอาคาร
                          -มุมมอง มุมมองจากภายในและภายนอกโครงการ เพราะโครงการที่ส่วนของการจัดนิทรรศการให้ประชาชนเข้าชมได้ โครงการจึงควรมีการเปิดมุมมองที่ดี
                         -ความปลอดภัย เนื่องจากโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการที่มีข้อมูลด้านการวิจัยใหม่ และเครื่องมีที่ราคาสูง จึงต้องการรักษาความปลอดภัยที่ดี อยู่ที่พื้นที่ที่ใกล้กับหน่วยงานราชการที่สามารถติดต่อดูแลความปลอดภัยได้ง่ายและรวดเร็ว

ระดับคะแนนในแต่ละหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกที่ตั้งโครงการ
                                                                                                                      
 การคมนาคม                            4                      คะแนน                                                                                                                       
โครงการสนับสนุน                      3                      คะแนน                                                                                                                       
สภาพแวดล้อม                          5                      คะแนน                                                                                                                       
มุมมอง                                    3                      คะแนน                                                                                                                      

ความปลอดภัย                           4                      คะแนน

  รูปภาพ 1.5 แสดงที่ตั้งโครงการที่ 1


ที่ตั้งโครงการที่1
                           อยู่บริเวณหน้าทางเข้านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อยู่ติดถนนสายหลัก (สุขุมวิท) มีปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรม สามารถเก็บตัวอย่างวิจัยได้โดยตรง แต่เนื่องจากอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรม จึงไม่มีรถโดยสารประจำทางหรือแม้กระทั่งรถรับจ้างส่วนบุคคลก็มักจะไม่เข้าไปภายในนิคมอุตสาหกรรม 
 รูปภาพ 1.6 แสดงที่ตั้งโครงการที่2
 ที่ตั้งโครงการที่2
                          อยู่บริเวณปากแม่น้ำระยองแม่น้ำสายหลักของจังหวัด ใกล้กับพื้นที่ศูนย์ศึกษาป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์และใกล้กับบริเวณชายหาดที่มีปัญหาน้ำเน่าเสีย ทำให้เข้าเก็บตัวอย่างมาทำงานวิจัยได้สะดวก ติดถนนเลียบชายฝั่งที่เชื่อมต่อจากถนนสายหลัก(ถนนสุขุมวิท)




รูปภาพ 1.7 แสดงที่ตั้งโครงการที่3
ที่ตั้งโครงการที่3

                        อยู่บริเวณหาดแม่รำพึง ซึ่งเน้นไปในทางที่เป็นแหล่งของการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ใกล้กับสถานีอุตุนิยมวิทยาของจังหวัด และอยู่ใกล้อุทยาแห่งชาติเขาแหลมย่า 


ตาราง 1.2 แสดงการพิจารณาการให้คะแนนทำเลที่ตั้ง
การกำหนดค่าระดับคะแนน

                       A = 4 หมายถึง ดีมาก
                       B = 3 หมายถึง ดี
                       C = 2 หมายถึง ดีพอใช้
                       D = 1 หมายถึง พอใช้
                       F = 0 หมายถึง ไม่ดี


1.2.2 การกำหนดขนาดที่ตั้งโครงการ


การพิจารณาหาขนาดพื้นที่เบื้องต้น มีดังนี้
                  1.พื้นที่ใช้สอยโครงการประมาณ 2,400 ตารางเมตร
                  2.คำนวนหาพื้นที่ตั้งเหมาะสมจากการคำนวนสัดส่วนพื้นที่ตั้งโครงการต่อพื้นที่ก่อสร้าง (F.A.R. = Site area : Building area) ตามประเภทของอาคาร กำหนดสัดส่วน F.A.R. ตามประเภทของศูนย์วิจัย = 1 : 0.4
ดังนั้นพื้นที่ตั้งโครงการประมาณ 2,400/0.4 = 6,000 ตารางเมตร
                  3.การกำหนดพื้นที่เปิดโล่ง
จำนวนชั้นภายในโครงการ                                                                          3          ชั้น
พื้นที่ใช้สอยโครงการ                                                                                   2,400   ตารางเมตร
ดังนั้นพื้นที่เปิดโล่งของโครงการประมาณ 6,000-2,400            =                  3,600               ตารางเมตร
เปรียบเทียบอัตราส่วนได้ประมาณ
                     พื้นที่อาคารปกคลุม                     :                       พื้นที่เปิดโล่ง
                      2,400                                       :                       3,600
           

1.2.3 เป้าหมายจินตภาพโครงการ

                        เป้าหมายจินตภาพโครงการ หมายถึง รูปแบบหรือลักษณะของภาพรวมและส่วนประกอบต่างๆ ของอาคารที่ต้องการหรือกำหนดสำหรับโครงการ
1.กิจกรรมหรือหน้าที่ใช้สอยของอาคาร
                         เนื่องจากโครงการการเป็นศูนย์วิจัย ผู้ทำงานปฏิบัติงานในห้องทดลองงานวิจัยต้องใช้เวลาในการทำงานที่ค่อนข้างยาวนาน ใช้สมาธิสูงเป็นอย่างมาก การจัดรูปแบบการใช้สอยอาคารจึงควรมีการจัดมุมมองที่ดีเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย รวมถึงการระบายอากาศของอาคาร

2.ผู้ใช้โครงการ
                          ผู้ใช้หลักชองโครงการ คือ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง การออกแบบที่ว่างภายในอาคารจึงควรมีที่ว่างที่น่าสนใจ และเหมาะสมต่อการทำงาน สร้างสุขภาพจิตที่ดี เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

3.ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของที่ตั้งโครงการ
                           เนื่องจากโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องมีพื้นที่สนามติดตั้งอุปกรณ์ในการตรวจวัดเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ จึงต้องออกแบบให้มีความเหมาะสมต่อทิศทางแดดและลมที่จะส่งผลต่อการทำงานของเครื่องมือ
4.ยุคสมัยและสไตล์ตามเวลาที่โครงการนั้นเกิดขึ้น
                           ลักษณะอาคารของโครงการศูนย์วิจัยจะมีลักษณะเรียบง่าย ทันสมัย มีความน่าเชื่อถือ และมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมบริบทรอบข้างได้อย่างน่าสนใจ

1.2   เป้าหมายโครงการด้านเศรษฐศาสตร์

1.3.1 เงินทุนโครงการ

                          -โครงการของภาครัฐ อยู่ภายใต้การดูแลของกรมควมคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.3.2 งบประมาณเบื้องต้น

                          -ราคาก่อสร้างตารางเมตรละ                                                                      20,000      บาท
                            พื้นที่ใช้สอยอาคารโดยประมาณ                                                                8,000        ตารางเมตร
                            ราคาค่าก่อสร้าง 20,000x8,000                                       =                      160,000,000 บาท
                           -ราคาปรับปรุงที่ดิน                                                                                  450,000 บาท/ไร่
                             พื้นที่ก่อสร้างโดยประมาณ                                                                       3.75 ไร่
                             ราคาปรับปรุงที่ดิน 450,000x3.75                                   =                     1,687,500 บาท
                             ค่าดำเนินการก่อสร้าง 20%                                            =                      160,000,000x20%
                                                                                                            =                      32,000,000 บาท
รวมงบประมาณค่าก่อสร้างเบื้องต้น
                                   160,000,000+1,687,500+32,000,000                     =                      193,687,500 บาท

1.3.3 ผลตอบแทนทางการเงิน

                            รายได้ของโครงการได้จากการเข้าชมงานนิทรรศการ การขายบัตรผ่านผู้เข้าชมงานและสถานที่ การขอเข้าใช้อบรมสัมมนาวิชาการต่างๆ

1.3.4 ผลตอบแทนทางสังคม

                            1.ช่วยในการวิจัย หาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน
                            2.ช่วยเผยแพร่ความรู้ให้แก่นักเรียน และเยาวชนได้มีความรู้ในการจัดการ ดูแลรักษา และอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว

1.4 เป้าหมายโครงการด้านเทคโนโลยี

1.4.1 เป้าหมายเทคโนโลยีอาคาร

                           -โครงสร้างอาคาร เป็นระบบเสาคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ร่วมกับโครงสร้างเหล็กเพื่อให้ได้พื้นที่ว่างภายในอาคารที่เหมาะสมแก่การใช้งานและประหยัดเวลาในการก่อสร้าง
                            -ระบบปรับอากาศ ใช้ทั้งระบบ Sprit type และระบบ VRV เนื่องจากห้องปฎิบติการที่ความต้องการที่แตกต่างกันทั้งด้านอุณหภูมิและความต้องการระบบปรับอากาศที่ต้องการความทนต่อกรด-ด่างในบางพื้นที่
                            -ระบบไฟฟ้า ใช้ระบบไฟฟ้ากำลัง และมีระบบไฟฟ้าสำรองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายและความต่อเนื่องของงานทดลอง
                             -ระบบควบคุมเสียง สำหรับส่วนจัดแสดงนิทรรศการที่ไม่ต้องการเสียงจากภายนอก เพื่อไม่ใช้เกิดการรบกวน
                              -ระบบสัญญาณเตือนภัย เป็นระบบเตือนภัยจากการเกิดอัคคีภัย อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน อุปกรณ์ตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ
                             -ระบบรักษาความปลอดภัย เนื่องจากโครงการต้องการการรักษาความปลอดภัยค่อนข้างสูง จึงต้องมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด การใช้ระบบคีย์การ์ดในการเข้าใช้งานบางพื้นที่เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น