บทที่3

บทที่ 3

แนวความคิดโครงการ (Programming Concept)
แนวความคิดโครงการ คือ ความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างองค์ประกอบต่างๆ โดยที่ความสัมพันธ์ที่เหมาะสม จะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสถาปัตยกรรมตั้งแต่ 2 ปัจจัยขึ้นไปและแนวความคิดจะกำหนดมาจากปัจจัยหรือข้อเท็จจริงทุกด้านที่ได้แบ่ง เป็น 4 กลุ่มเพื่อการนาเสนอที่สอดคล้องกัน ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการจัดทารายละเอียดโครงการ (Programming Process) จึงนำเอาแนวความคิดโครงการ มาอธิบายตามกลุ่มของข้อมูล เพื่อตรวจสอบและกำหนดลงไปในโครงการตามองค์ประกอบต่างๆ ของโครงการ โดยแนวความคิดโครงการ ในที่นี้ได้แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้โดยมีขอบเขตการศึกษาข้อมูลพื้นฐานโครงการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
 แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอย (Function Concepts)
- แนวความคิดด้านรูปแบบ (Form Concepts)
- แนวความคิดด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Concepts)
- แนวความคิดด้านเทคโนโลยี (Technology Concepts)
การนำเสนอจะพยายามให้ครอบคลุมถึงทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและกำหนดรายละเอียดของโครงการ ดังนั้นจึงมีลำดับขั้นตอนของการกำหนดแนวความคิดตั้งแต่ภาพรวมทั้งโครงการจนถึงแต่ละองค์ประกอบและรายละเอียดในแต่ละส่วน

3.1 แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอย (Function Concept)
เนื่องจากแนวความคิดโครงการเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ในหลายปัจจัยของข้อมูลพื้นฐาน ดังนั้นการกำหนดแนวความคิดด้านนี้จะทาการพิจารณาทีละส่วนขององค์ประกอบของโครงการ โดยสอดแทรกเนื้อหาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละองค์ประกอบและเพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดพื้นที่ใช้สอยในขั้นตอนต่อไปด้วย การนาเสนอจึงมีการเรียงลาดับตามองค์ประกอบของโครงการดังนี้     

3.1.1 ภาพรวมโครงการ (Overall Project)
3.1.2 ส่วนศึกษาค้นคว้าและวิจัย (Research Zone)
3.1.3 ส่วนสนับสนุนโครงการ (Exhibirion Zone)
3.1.4 ส่วนบริหารโครงการ (Administration Zone)
3.1.5 ส่วนบริการโครงการ (Public Zone)
3.1.6 ส่วนจอดรถ (Parking Zone)
โดยในแต่ละส่วนจะมีการกาหนดแนวความคิดของโครงการ (Programming Conceptโครงการ ตามกลุ่มของแนวความคิดที่สัมพันธ์กับข้อมูลพื้น ตามหัวข้อกลุ่มแนวความคิดต่างๆ ดังนี้
1.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (Relationship)
2.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
3.แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ (Operation)

ภาพรวมของโครงการ(Overall Project)
เนื่องจากโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการที่วีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยค้นคว้า และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม จึงมีผู้ใช้โครงการในกิจกรรมหลายประเภท ดังนั้นแนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอยภาพรวมโครงการ จะเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของกิจกรรมในทุกองค์ประกอบของโครงการ โดยเน้นที่การเข้าถึงพื้นที่ใช้สอย ซึ่งจะต้องมีการควบคุมพื้นที่ใช้สอยให้สามารถเข้า ออกได้โดยสะดวก และไม่ปะปนกันระหว่างผู้ใช้โครงการแต่ละประเภท โดยมีแนวความคิดโครงการตามกลุ่มแนวความคิดดังนี้


    รูปภาพ 3.1 แสดงลักษณะภาพรวมของโครงการ

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเป็นการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมผู้ใช้โครงการสัมพันธ์กับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละองค์ประกอบ เพื่อนาไปใช้ในการกำหนดรายละเอียดพื้นที่ใช้สอย โดยมีหัวข้อที่ใช้ในการพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบ คือ
ก.ลำดับความสำคัญของกิจกรรม(Sequence of Activities)
จะให้ความสำคัญหรือมุ่งเน้นกับงานวิจัยเป็นหลัก แล้วอาศัยการเผยแพร่ความรู้ด้วยการจัดแสดง

รูปภาพ 3.2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของกิจกรรมกับกลุ่มพนักงาน


รูปภาพ 3.3 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของกิจกรรมกับกลุ่มผู้ใช้โครงการ

รูปภาพ 3.4 แสดงลักษณะความสำคัญของผู้ใช้

.ลำดับความสำคัญของผู้ใช้(Order of Importance)


ระหว่างอาคารส่วนจัดแสดงกับส่วนวิจัยและปฏิบัติการของโครงการควรจัดให้มีพื้นที่เปิดโล่งสำหรับจัดภูมิทัศน์ (Landscape) เพื่อเป็นการแบ่งแยกพื้นที่ส่วนทำงานกับส่วนสาธารณะ และยังทำให้อาคารกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม มีมุมมองภายในโครงการที่สวยงาม


ลำดับความสำคัญของกิจกรรม เป็นการลำดับการเข้าถึงของแต่ละกิจกรรมตาม

พฤติกรรมโดยทั่วไปของกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักวิจัยภายในแต่ละวัน


ความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรม พื้นที่ใช้สอยในส่วนปฏิบัติการ ควรได้รับแสงจากธรรมชาติ เพื่อความสะดวกในการทำงานที่มีบรรยากาศที่ดี และยังสามารถช่วยในการประหยัดพลังงาน


ภายในห้องปฏิบัติการควรมีการจัดแบ่งพื้นที่ต่างๆ ออกเป็นสัดส่วนตามลักษณะของกิจกรรมเพื่อความเป็นระเบียบและยังส่งผลต่อจิตวิทยาผู้ใช้ว่าส่วนใดคือส่วนทางาน ส่วนใดพักผ่อนและยังก่อให้เกิด Space ที่น่าสนใจอีกด้วย


ภายในห้องปฏิบัติการ ควรมีส่วนพักผ่อนสำหรับนักวิจัย เนื่องจากนักวิจัยต้องใช้สมาธิในการทำงานสูง จึงอาจทำให้เกิดความเคียด ซึ่งอาจจะทาเป็นส่วนพักผ่อนรวมของฝ่าย เพื่อจะได้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยแผนกอื่นๆได้อีกด้วย

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ(Operation)
.ระบบบริการ(Service Management)
ทางเข้าของส่วนสาธารณะจะเข้าสู่โถงพักคอยโดยตรง ส่วนทางเข้าของพนักงานเจ้าหน้าที่และทางบริการจะมีทางเข้าเฉพาะไปยังส่วนบริการ ซึ่งเป็นระบบบริการศูนย์กลางเพื่อความสะดวกในการบริหารควบคุมและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในโครงการ
ห้องเก็บและส่งจ่ายแก๊ส ต้องอยู่แยกออกมาให้มีช่องระบายอากาศได้สะดวก และแยกออกเป็น 2 ห้อง คือ เก็บแก๊สไม่ไวไฟ และไวไฟ เพื่อความสะดวกในการดูแลและเพื่อปลอดภัย

.ระบบรักษาความปลอดภัย
จะมีการจัดเวรยามประจำไว้ตามจุดต่างๆของโครงการ เช่น บริเวณทางเข้าหลัก ส่วนจัดแสดง และส่วนวิจัย และใช้ระบบทีวีวงจรปิดมาช่วยในส่วนสาธารณะ เนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนมาก สำหรับส่วนวิจัยจะติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยเพราะอาจจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้
การเข้าใช้โครงการส่วนวิจัยนี้จะต้องมีการใช้ Key Card Access Control ซึ่งต้องใช้รหัสร่วมกับการ์ดแต่ละใบที่ตั้งไว้ เพราะจะมีเพียงนักวิจัยและเจ้าหน้าที่บางส่วนเข้าได้เท่านั้น จึงต้องมีการวางระบบเข้า-ออกเพื่อรักษาความปลอดภัย
ค.ระบบสัญจร
จะเป็นแบบกระจายโดยในแต่ละส่วนต้องมีการควบคุมการเข้า ออก โดยให้มีทางเข้า ออก อยู่ในบริเวณเดียวกันหรือใกล้กันเพื่อความสะดวกในการควบคุมความปลอดภัยและประหยัดจำนวนเจ้าหน้าที่
การเข้าถึงของส่วนวิจัยนี้ ควรจะเข้าถึงจากหน่วยใหญ่ แล้วจึงลำดับเข้าสู่หน่วยย่อยๆ เพื่อให้เกิดจิตวิทยาความรู้สึกและความเหมาะสมในการใช้งานของนักวิจัย
ในส่วนของ Locker Room ของนักวิจัยควรจัดให้อยู่แยกกับห้องปฏิบัติการ เพราะเมื่อ นักวิจัยมาถึงก็สามารถเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย แล้วจึงจะเข้ามาในห้องปฏิบัติการ

.ระบบจราจร (Traffic System)
พื้นที่จอดรถของส่วนสาธารณะ ส่วนบริการ และของเจ้าหน้าที่จะแยกจากกันแต่อาจจะใช้ร่วมกันได้บ้าง เนื่องจากไม่ได้มีความถี่เข้าออก ของรถบริการบ่อยครั้งนักใน 1 วัน

.ระบบเวลา
                   เนื่องจากเป็นโครงการของทางราชการ ดังนั้น ระบบเวลาการทางานก็จะใช้ตารางการ ทางานของราชการเป็นหลัก

.ระบบการเก็บและการขนส่งของ
เป็นระบบแยกส่วนตามแต่องค์ประกอบของโครงการ เพื่อความสะดวกในการดำเนินงาน 

3.2แนวความคิดด้านรูปแบบ (FORM CONCEPTS)
แนวความคิดโครงการด้านรูปแบบแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
3.2.1หลักเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ (Criteria for Site Selection)
3.2.2แนวความคิดโครงการด้านจินตภาพ (Image Concept)
3.2.1หลักเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ (Criteria for Site Selection)

โครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์วิจัยทางการศึกษาที่ต้องพิจารณาองค์ประกอบต่างๆโดยเฉพาะจะต้องอยู่ในที่ตั้งที่เหมาะสมต่อทั้งรูปลักษณ์โครงการ และตรงกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ตั้ง(Site) โครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม จึงมีขั้นตอน ดังนี้
1.หลักเกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการ
2.หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบที่ตั้ง
3.2.1 หลักเกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการ
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาที่ตั้งโครงการทั้ง 3 แห่งนั้น ที่ตั้งโครงการทั้ง 3 แห่งต้องมีศักยภาพใกล้เคียงกัน  โดยศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมนั้นมีหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ตั้งโครงการดังนี้
1.ด้านเศรษฐกิจ และการเงิน ( Economical and Financial)
1.1 ราคาที่ดิน (Land Cost) เนื่องจากเป็นโครงการของภาครัฐ ดังนั้นราคาที่ดินจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการลงทุนว่าจะมีงบประมาณมากน้อยเพียงไร ดังนั้นราคาของที่ดินของโครงการต้องมีราคาที่เหมาะสมกับขนาดของโครงการ มีราคาที่ไม่แพงจนเกินไปและคุ้มค่ากับลักษณะของสภาพที่ดินที่ใช้ตั้งโครงการ หรือเลือกใช้ที่ดินของรัฐบริเวณใดได้บ้างเพื่อควบคุมงบประมาณ
2.ด้านเทคนิค (Techniques)
2.1 การใช้ที่ดิน (Land Use)
เนื่องจากโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง เป็นโครงการทางด้านศูนย์วิจัย ดังนั้นควรจะตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ไม่แออัด มลภาวะค่อนข้างน้อย และมีสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการดำเนินกิจกรรมหลักภายในโครงการ คือการวิจัย
2.2 โครงสร้างบริการสาธารณะพื้นฐาน (Infrastructure and Facilities)
ลักษณะของโครงสร้างสาธารณะพื้นที่ฐานบริเวณที่ตั้งโครงการ ต้องมีความพร้อม เพื่อสนับสนุนโครงการในการดำเนินกิจกรรม หรือการใช้สอยต่างๆภายในโครงการ และสามารถรองรับการขยายตัวของโครงการในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นได้
2.3ความสะดวกในการเข้าถึง (Accessibility)
เนื่องจากโครงการเป็นโครงการลักษณะเผยแพร่ความรู้ ที่มีการดำเนินกิจกรรมหลัก คือการวิจัย และกิจกรรมรองคือจัดแสดงงานต่างๆภายในโครงการ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลภายนอกโครงการที่เข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมภายในโครงการจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเข้าถึงที่สะดวก และง่ายต่อการรับรู้
3.ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociality and Culture)
3.1ลักษณะประชากร (Population)
ลักษณะของประชากรในบริเวณพื้นที่ตั้งโครงการ หรือสภาพแวดล้อมโดยรอบ ต้องอยู่ในกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการ อีกทั้งยังต้องมีปริมาณของกลุ่มผู้ที่สนใจในโครงการอย่างพอเพียง ทั้งในแง่ของลักษณะ และปริมาณ
3.2ความปลอดภัย (Safety)
พื้นที่ตั้งโครงการควรอยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยสูงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้โครงการ และบริเวณทำเลที่ตั้งโครงการควรจะมีความสว่างและไม่เปลี่ยว มีสภาพแวดล้อมที่ดีและไม่เอื้ออานวยต่อการเกิดอาชญากรรมต่างๆ
3.3 ความเหมาะสมของประเภทอาคาร (Conformity)
อาคารของโครงการไม่ควรก่อให้เกิดผลเสียหรือผลกระทบกับอาคารโดยรอบ บุคคลภายนอกสามารถที่จะมองเห็นโครงการได้โดยง่ายมีมุมมองที่ดีส่งเสริมกับโครงการและสามารถเข้าถึงโครงการได้โดยง่าย
4. ด้านสภาพแวดล้อม (Environment)
4.1 สภาพบริเวณโดยรอบ (Surrounding)
สภาพแวดล้อมมีความสำคัญมากที่สุดในการเลือกที่ตั้งโครงการ ควรตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีส่งเสริมโครงการ อีกทั้งสภาพแวดล้อมของโครงการยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ของโครงการ
4.2 ทิวทัศน์ (View from Site)
สภาพแวดล้อมภายนอกโครงการต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี ที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานวิจัย อีกทั้งต้องสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์ความคิดในการวิจัย หรือการผลิตชิ้นงาน อีกทั้งมุมมองที่ดีจากภายในโครงการยังเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่โครงการ
4.3 ความสัมพันธ์โครงการที่เกี่ยวข้อง (Linkage)
พื้นที่ตั้งโครงการควรจะมีสถานที่ที่มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมโครงการ ทั้งในส่วนของการเกื้อหนุนทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การตลาด และการเอื้ออานวยต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการ อีกทั้งโครงการมีลักษณะกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งส่วนเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร ข้อมูล และการจัดแสดงงานนิทรรศการ ดังนั้นควรมีการเชื่อมต่อกับโครงการอื่นที่มีส่วนส่งเสริม และมีความสัมพันธ์กันทางด้านกิจกรรม
5. ด้านแนวความคิดโครงการ (Trend)
5.1การขยายตัวโครงการ (Project Expansion)
พื้นที่ตั้งโครงการ หรือสภาพแวดล้อมของโครงการต้องมีศักยภาพที่ดีพอที่จะสามารถรองรับการขยายตัวของโครงการที่อาจจะเกิดขึ้นภายในอนาคต
5.2 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน (Trend in Changing Land Use)
พื้นที่ตั้งโครงการต้องมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินน้อย เนื่องจากถ้ามีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินก็จะส่งผลกระทบต่อโครงการ ทั้งในรูปลักษณ์ การเข้าถึง หรือกลุ่มเป้าหมายของโครงการ
5.3 แนวโน้มของการอยู่ในที่เวนคืน (Expropriation)
ที่ตั้งของโครงการไม่ควรจะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการเวนคืนที่ดิน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินโครงการ
5.4 แนวโน้มการขยายตัวของชุมชนข้างเคียง
การที่ชุมชนมีอัตราการขยายตัวสูงย่อมทาส่งผลต่อการโครงการทั้งในแง่ของสภาพแวดล้อม ระบบคมนาคม การเข้าถึง ภาพลักษณ์ของโครงการ กลุ่มเป้าหมายและปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อโครงการ
จากหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่ตั้งดังกล่าว ทาให้สามารถสรุปหัวข้อที่ใช้ในการพิจารณาที่ตั้งโครงการ 3แห่ง ได้ในส่วนของหลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบที่ตั้ง สรุปความสำคัญของหลักเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม จังหวัดระยอง
2.หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบที่ตั้ง
เนื่องจากโครงการมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาหาที่ตั้งโครงการ ดังนั้นจึงนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาเปรียบเทียบที่ตั้งโครงการเพื่อหาที่ตั้งโครงการที่เหมาะสมที่สุดจากที่ตั้งโครงการทั้ง 3แห่ง โดยเป็นหลักเกณฑ์การให้ลำดับคะแนนตามลำดับความสำคัญของแต่ละหลักเกณฑ์ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น